ธุรกรรมบิตคอยน์ทำงานยังไงนะ ?

ธุรกรรมบิตคอยน์ทำงานยังไงนะ ?

หากคุณคิดว่าบิทคอยน์นั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก คุณไม่ใช่คนเดียวที่คิดแบบนั้นหรอก! คนไทยหลายคนเองก็อยากรู้ว่าบิทคอยน์คืออะไร ซื้อบิทคอยน์ได้ที่ไหน และใช้งานอย่างไร ในขณะที่กลไกการทำงานของบิทคอยน์นั้นซับซ้อนมาก แต่ก็สามารถใช้งานได้ปกติเหมือนกับเงินบาทที่คุณใช้กันทุกวันนั่นแหละ

บิทคอยน์ ก็เหมือนกับสกุลเงินทั่วๆไปที่มีมูลค่าในตัวเอง สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทและสามารถใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าต่างๆได้ บิทคอยน์นั้นไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานใดๆ

เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของบิทคอยน์อย่างง่ายนั้น เราจึงนำบิทคอยน์มาเปรียบเทียบกับการทำธุรกรรมของธนาคาร

ธนาคารส่งเงินให้กันได้อย่างไร

การส่งเงินระหว่างธนาคารนั้นยุ่งยากกว่าที่คุณคิด ลองศึกษาจากเหตุการณ์ตัวอย่างต่อไปนี้

เหตุการณ์ที่ 1 : การโอนเงินภายในประเทศ

คุณติดเงินเพื่อนอยู่ 1,000 บาท และต้องคืนเงินผ่านบัญชีธนาคารโดยที่คุณและเพื่อนของคุณใช้บัญชีเงินฝากคนละธนาคารกัน

ดังนั้นเงินจำนวน 1,000 บาทที่ออกจากบัญชีคุณ ธนาคารของคุณจะส่งข้อมูลไปยัง ระบบบาทเนต (BAHTNET – Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS)

เมื่อ BAHTNET ประมวลผลและดำเนินการธุรกรรมโอนเงินของคุณเรียบร้อย เงินจำนวน 1,000 บาทจะถูกส่งไปยังธนาคารของเพื่อนคุณ ซึ่งธนาคารจะทำการฝากเงินเข้าไปยังบัญชีธนาคารของเพื่อนคุณเป็นขั้นตอนสุดท้าย

เหตุการณ์ที่ 2 : การโอนเงินไปต่างประเทศ

เมื่อคุณส่งโอนเงินไปต่างประเทศขั้นตอนจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากไม่มีระบบ BAHTNET แบบสากลที่รองรับสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ ดังนั้นแบงค์จึงใช้วิธีส่งผ่านธนาคารตัวแทนต่างประเทศของธนาคารปลายทางนั้นๆ เพื่อดำเนินธุรกรรมให้

ที่นี้มาดูกันว่า สมมุติว่าคุณทำงานอยู่ที่สิงคโปร์และต้องการส่งเงินไปยังครอบครัวคุณที่ไทย ภาพนี้จะแสดงให้เห็นขั้นตอนการโอนเงินระหว่างประเทศโดยวิธีทั่วไป
จากตัวอย่างนี้ธนาคารในสิงคโปร์ของคุณไม่มีในประเทศไทย ดังนั้นธนาคารของคุณจึงส่งเงินไปยัง BNP Paribas ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนต่างประเทศ  จากรูปคุณจะเห็นได้ว่า BNP Paribas ไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ดังนั้น HSBC ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนจึงเป็นผู้ถอนเงินจากบัญชี BNP Paribas และส่งเงินไปยังธนาคารในประเทศไทยของคุณ และธนาคารนั้นๆก็เป็นผู้จัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่าง SGD และ THB

โดยธนาคารเหล่านี้จะส่งข้อความระหว่างประเทศเกี่ยวกับธุรกรรมระหว่างกันโดยใช้ SWIFT codes (the  Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication).

ในความเป็นจริงนั้นการโอนเงินไปต่างประเทศจะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีขั้นตอนผ่านสถาบันการเงินและธนาคารกลางต่างๆ นอกจากนี้ยังมีตัวแปรแทรกซ้อนอื่นๆอีก อาทิ เวลาตัดจำหน่าย (cut off time), เวลา clearing , เรทราคาของเงินที่ต้องการส่งในแต่ละครั้ง รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ.

ธุรกรรมบิทคอยน์ทำงานอย่างไร

การทำธุรกรรมบิทคอยน์นั้นง่ายกว่าการทำธุรกรรมทางธนาคารมาก ยกตัวอย่างเช่น การส่งบิทคอยน์ คุณจำเป็นต้องมีกระเป๋าบิทคอยน์ เพื่อเก็บ ส่ง และรับบิทคอยน์ รวมถึงคุณยังต้องรู้ที่อยู่กระเป๋าบิทคอยน์ของผู้รับเงิน จึงจะสามารถส่งบิทคอยน์ไปยังปลายทางได้

จากภาพนี้จะสร้างเหตุการณ์สมมุติว่า คุณต้องการส่งบิทคอยน์ไปให้เพื่อน

ในการเริ่มต้นการทำธุรกรรมส่งบิทคอยน์นั้น เพียงแค่คุณคัดลอกหรือสแกนที่อยู่กระเป๋าบิทคอยน์ของเพื่อนไปไว้ที่หน้าธุรกรรมส่งบิทคอยน์ของกระเป๋าคุณและกรอกจำนวนเงินที่ต้องการส่ง จากนั้นกดปุ่ม “ส่ง (send)” เป็นอันเสร็จสิ้นการทำธุรกรรม.

หลังจากที่คุณกดปุ่ม “ส่ง (send)” แล้วธุรกรรมนี้จะถูกสร้างด้วยกระเป๋าของคุณและส่งต่อไปยังเครือข่ายของบิทคอยน์ (Bitcoin Network) ซึ่งจะได้รับการยืนยันเพื่อความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของธุรกรรม ทั้งนี้กระบวนการจะดำเนินไปในลักษณะนี้โดยไม่ได้คำนึงถึงตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และเมื่อธุรกรรมของคุณได้รับการตรวจสอบแล้ว ผู้ดำเนินการ หรือ Bitcoin Miners นั้นก็จะรวมธุรกรรมนี้และธุรกรรมอื่นๆไว้ด้วยกันในรูปของ “บล็อก (Block)” และจะเพิ่มเข้าไปยัง “บล็อกเชน (Blockchain)” ของบิทคอยน์ ซึ่งก็คือการบันทึกธุรกรรมบิทคอยน์ทั้งหมดที่เคยทำมาแบบสาธารณะ เมื่อมีการเพิ่มธุรกรรมของคุณลงในบล็อกแล้ว กระเป๋าของคุณจะส่งการยืนยันให้คุณและเพื่อนของคุณจะได้รับบิทคอยน์ในกระเป๋าของเขา.

โดยทั่วไปแล้วบิทคอยน์จะไม่มีความจำเป็นในการติดต่อกับธนาคาร เนื่องจากบิทคอยน์ได้อยู่ภายใต้การจัดการของเครือข่ายเดียวกัน ฉะนั้นธุรกรรมที่สมบูรณ์และเป็นไปได้นั้นจะต้องผ่านการดำเนินการของบล็อกเชน หากลองเปรียบเทียบการดำนินการเหล่านี้กับบทบาทต่างๆแล้วก็เหมือนกับ ผู้ควบคุม, ผู้รักษาความปลอดภัย, ผู้จัดงาน, ผู้สื่อสาร และ ผู้บันทึกเสียงนั่นเอง.

หมายเหตุ: การซื้อ-ขายบิทคอยน์และสกุลเงินอื่นๆค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงและอาจไม่เหมาะกับทุกคน สามารถอ่านคำแนะนำของ BSPฉบับเต็ม เพื่อทำความเข้าใจกับความเสี่ยงในการซื้อขาย หรือการถือครองสกุลเงินดิจิตอลต่างๆ

You've successfully subscribed to Coins Blog - ประกาศ เรื่องราว และการอัปเดต
Great! Next, complete checkout to get full access to all premium content.
Error! Could not sign up. invalid link.
Welcome back! You've successfully signed in.
Error! Could not sign in. Please try again.
Success! Your account is fully activated, you now have access to all content.
Error! Stripe checkout failed.
Success! Your billing info is updated.
Error! Billing info update failed.