เมื่อ Satoshi Nakamoto สร้างบิตคอยน์ในปี 2009 แนวคิดของเขาคือการสร้างสกุลเงินทางเลือกแบบกระจายอำนาจ(Decentralized) ที่จะไม่อยู่ในมือของบุคคลหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันตามรายงานพบว่า วาฬ(ผู้ถือเหรียญรายใหญ่) ถือครองประมาณ 67% ของอุปทานบิตคอยน์ทั้งหมดในระบบ ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าบล็อกเชนมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงหรือไม่
ใครคือวาฬและฉลามในการถือบิตคอยน์บ้าง?
อ้างอิงจากรายงานของบริษัท Santiment ที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายของอุปทานบิตคอยน์ จัดอันดับกระเป๋าเงินบิตคอยน์ตามจำนวนบิตคอยน์ที่พวกเขาถือครองไว้ โดยเปรียบเทียบกระเป๋าขนาดเล็กคือกระเป๋าที่มีบิตคอยน์ถือครอง 1-10 บิตคอยน์ ในทางกลับกันกระเป๋าวาฬและฉลามถือบิตคอยน์เฉลี่ยที่ 10-10,000 บิตคอยน์ (~269 ล้านเหรียญสหรัฐ)
วาฬถือกำเนิดได้อย่างไร?
ในการเป็นวาฬหรือฉลาม คุณเพียงแค่ได้รับหรือซื้อบิตคอยน์สะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และถือกุญแจไว้ในกระเป๋าเงินของคุณ ในไตรมาสแรกของปี 2023 วาฬสะสมบิตคอยน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มขึ้น 40,557 บิตคอยน์ในหนึ่งที่อยู่กระเป๋าเท่านั้น เป็นไปได้ว่า Satoshi Nakamoto ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้และจำกัดการถือครอง บิตคอยน์ไว้ตั้งแต่แรก
การมีวาฬถือเป็นสัญญาณที่ดีหรือไม่?
การมีวาฬสามารถเป็นเรื่องที่ดีและไม่ดีได้ในแง่ของการลงทุน ในแง่หนึ่ง วาฬส่งผลดีต่อราคาบิตคอยน์และถือเป็นปัจจัยหนึ่งของการพุ่งขึ้นของราคาตั้งแต่ต้นปี 2023 เนื่องจากการลงทุนในบิตคอยน์ของสถาบันต่างๆก็สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวของบิตคอยน์เอง แต่ในอีกด้านหนึ่งการอาจส่งผลลบได้ คุณอาจจะเคยได้ยินว่าวาฬได้มีการย้ายบิตคอยน์ออกจากกระเป๋าไปที่อื่น ซึ่งอาจสร้างสถานการณ์การปั่นตลาดขึ้นมาได้ ว่าที่วาฬโอนบิตคอยน์ออกจากกระเป๋าอาจเกิดจากได้ยินข่าวลือที่ไม่ดีอะไรมาเกี่ยวกับบิตคอยน์หรือเปล่า?
สรุปวาฬกับระบบกระจายศูนย์
สุดท้ายนี้อาจไม่สามารถตัดสินใจไปได้ทางใดทางหนึ่งแบบ 100% เพราะเป็นเรื่องของมุมมองว่าดีหรือไม่ดีที่วาฬถือครอง 67% ของบิตคอยน์ บางคนโต้แย้งว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจและอาจนำไปสู่การปั่นตลาดในที่สุด ในขณะที่บางคนมองว่าเป็นสัญญาณของการยอมรับสถาบันและการลงทุนระยะยาว ท้ายที่สุดแล้ว ผลกระทบต่อตลาดและนักลงทุนรายย่อยจะขึ้นอยู่กับการกระทำและความตั้งใจของผู้ถือครองวาฬเหล่านี้หรือไม่ก็ได้!?