คริปโต 101: “Blockchain” คืออะไร

คริปโต 101: “Blockchain” คืออะไร

แม้ว่าคุณจะไม่มีความคุ้นเคยกับคริปโตเคอเรนซี่มากนักแต่เชื่อว่าคุณต้องเคยได้ยินคำว่า “blockchain” มาก่อนอย่างแน่นอน มันเป็นรากฐานของเทคโนโลยีที่สนับสนุนบิทคอยน์ให้ขยายตัวออกสู่การใช้งานอื่นๆ เช่นระบบดูแลสุขภาพ Supply chains และระบบการโอนเงิน

แล้วเจ้าเทคโนโลยีใหม่นี้มันคืออะไรล่ะ? ทำไมมันถึงถือเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีในปัจจุบัน

Blockchain คืออะไร

อธิบายอย่างง่ายๆ blockchain คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงข้อตกลงเกี่ยวกับบัญชีแบบแยกประเภท คริปโตเคอเรนซี่อย่างบิทคอยน์หรืออีเธอเรียมนั้นใช้เทคโนโลยี blockchain ในการเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบเครือข่ายของพวกเขา

บัญชีแบบแยกประเภท(Ledger)คืออะไร

บัญชีแบบแยกประเภทนั้นไม่ใช่ทั้งหนังสือบันทึก หรือไฟล์เอกสารในคอมพิวเตอร์แต่เป็นรายการบันทึกที่ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินทั้งเข้าและออก

เพื่อจะได้เข้าใจเทคโนโลยี blockchain เรามาลองเปรียบเทียบเทคโนโลยีบัญชีแบบแยกประเภททั้งสองแบบดู

บัญชีแยกประเภทส่วนกลาง (Centralized Ledger)

ธนาคารส่วนใหญ่ใช้บัญชีแยกประเภทส่วนกลางในการติดตามการทำธุรกรรมเข้าออกในระบบของพวกเขา ในอีกความหมายหนึ่ง ทุกครั้งที่เกิดการฝากเงิน ถอนเงิน หรือโอนเงินระหว่างสาขา ธนาคารจะทำการบันทึกแต่ละรายการธุรกรรมในบัญชีแบบแยกประเภทของพวกเขาเอง เนื่องจากบัญชีแยกประเภทส่วนกลาง มีหน้าที่เหมือนเป็น “สำเนาต้นแบบ” ของแหล่งที่มาของการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใต้เครือข่ายของธนาคาร เนื่องจากธนาคารนั้นมีสิทธิควบคุมบัญชีแบบแยกประเภทอย่างสมบูรณ์  มันจึงสามารถถูกควบคุมการดำเนินงานได้ สามารถเลือกได้ว่ารายการธุรกรรมใดที่ได้รับการอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้มันยังถูกจำกัดไม่ให้เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ

บัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Ledger)

หากพูดอีกนัยหนี่ง ตัว blockchain นั้นเป็นตัวบัญชีแยกแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายถึงว่ามันไม่ได้มีสำเนาบัญชีแยกประเภทเพียงชุดเดียวแต่มีเป็นพันๆชุดกระจายผ่านคอมพิวเตอร์ไปทั่วโลก เหตุผลที่มีเยอะก็เพราะว่าไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตได้นั้นก็สามารถดาวน์โหลดซอฟแวร์ที่สามารถใช้เพื่ออ่านบัญชีแยกประเภทได้ และมีส่วนร่วมในเครือข่ายpeer to peer ได้เลย ไม่เหมือนกับธนาคารที่ต้องการตัวกลางในการทำธุรกรรม

ดังนั้นจึงไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมประวัติการทำธุรกรรมบนเครือข่ายได้ กลับกันคอมพิวเตอร์แต่ละตัวบนเครือข่ายนั้นมีหน้าที่ในการอัปเดตบัญชีแยกประเภทด้วยข้อมูลใหม่ บัญชีแยกประเภทออนไลน์นั้นถูกเปิดเป็นสาธารณะ สามารถให้ใครก็ได้สามารถเข้าชมประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นบนเครือข่าย blockchaind ได้

ทำไม Blockchain ถึงสำคัญ

ระบบBlock chain นั้นพึ่งพาอยู่กับบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ ในฐานะผู้ควบคุมเกท Block chain สามารถสลับเพื่อเปลี่ยนไปพึ่งพาระบบของคอมพิวเตอร์ทุกตัวที่ทำงานรวมกันในโลก เพื่อเก็บบัญชีแยกประเภทและรายการธุรกรรมและอัพเดทอย่างแม่นยำ

ในด้านผลลัพธ์นั้น รายการธุรกรรมนั้นไม่ได้ถูกรักษาโดยผู้ดูแลระบบเพียงเครื่องเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคอมพิวเตอร์เป็นพันๆเครื่องทำงานพร้อมกันเพื่อป้องกันระบบให้ปลอดภัย นั้นหมายถึงว่าหากเกิดการแฮ็คหรือเกิดความผิดพลาดบนฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องก็ยังมีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกเป็นพันเครื่องที่ทำหน้าที่ในการแบคอัพอยู่

นอกเหนือจากความปลอดภัยที่มากกว่า ข้อมูลที่อยู่ในบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจนั้นยังไม่เปลี่ยนรูป สิ่งนี้หมายถึงว่าเมื่อข้อมูลถูกเก็บขึ้นไปมันแล้ว จะเป็นการยากมากที่จะลบข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ทางเดียวที่จะให้ใครบางคนสามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูลได้นั้นต้องทำการควบคุมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมระบบเครือข่ายมากกว่าครึ่งหนึ่ง อย่างที่เรียกกันว่า “การโจมตี 51%”

โชคดีที่การโจมตีเหล่านี้นั้นจะยากขึ้นอย่างทวีคูณในขณะที่ระบบเครือข่ายนั้นเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือก็คือยิ่งมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในระบบมากขึ้นเท่าใด การโจมตีก็จะยิ่งยากขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจที่ถูกใช้ในคริปโตเคอเรนซี่อย่างเช่นบิทคอยน์นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะถูกดัดแปลงแก้ไข หรือถูกโจมตีได้

BlockchainBlock Chain ทำงายอย่างไร?

ในการเพิ่มข้อมูลใหม่ลงไปใน Block chain นั้นจะต้องดำเนินการตามกระบวนการอย่างเป็นเส้นตรง ยกตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการส่งเงินบิทคอยน์ให้เพื่อนของคุณ

1. คุณทำธุรกรรมเพื่อส่งบิทคอยน์ให้เพื่อนคุณเป็นจำนวน 0.003 BTC

2. คำร้องของคุณนั้นจะถูกส่งไปยังระบบเครือข่าย Blockchainblock chain ของบิทคอยน์

3. ระบบทำการยืนยันว่าคำร้องของคุณนั้นตรงกับประวัติบันทึกเก่าที่ถูกบันทึกบน Blockchainblock chain หรือไม่

4. คอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะสามารถทำการตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมของคุณผ่านชุดการคำนวน

5. และกลับกัน ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นในการร่วมมือจะได้รับค่าตอบแทนสำหรับงานของพวกเขา

6. รายการธุรกรรมของคุณจะทำการสร้าง “block” บน blockchain ที่จะเชื่อมกับ block ล่าสุดที่สร้าง

7. ทุกๆ block บน blockchain นั้นเชื่อมโยงกันอย่างเป็นลำดับตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงblockล่าสุดที่จะแสดงรายการธุรกรรมทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นบนเครือข่าย

8. ใครก็ตามที่สามารถเข้าถึง blockchain ได้ จะสามารถระบุว่ามีรายการธุรกรรมใดที่เคยทำ และเคยทำมันเมื่อไหร่ได้

กรณีสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี blockchain

บิทคอยน์

บิทคอยน์นั้นเป็นคริปโตเคอเรนซี่ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของตลาด ในตอนแรกมันถูกอธิบายความหมายไว้บน Bitcoin Whitepaper เอกสารที่ถูกปล่อยออกมาในปีค.ศ. 2008 โดยคนที่รู้จักกันในนาม ซาโตชิ นากาโมโต้ ในขณะที่ตัวตนที่แท้จริงของนากาโมโต้นั้นไม่เคยถูกเปิดเผย ตัวเอกสารที่เขาหรือเธอได้ทิ้งไว้นั้นไม่ใช่เพียงโครงร่างหลักการของระบบการชำระเงินแบบ peer to peer (P2P) แต่เป็นหลักการนำไปใช้ในแรกเริ่มของระบบเทคโนโลยี blockchain

Supply Chain

Supply chains ที่ใช้ระบบเทคโนโลยี blockchain นั้นมีแน้วโน้มที่จะสามารถใช้งานได้ เห็นได้จากข้อมูลที่เก็บไว้ในนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลง ผลที่ได้คือการที่คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบรายการต่างๆได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถเห็นความเคลื่อนไหวในการดำเนินการได้โดยไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลนั้นๆจะถูกรบกวน

แทนที่จะใช้บริการโอนเงินผ่านบุคคลที่ 3 ที่อาจถูกเรียนเก็บเงิน 5-10% จากการใช้บริการของพวกเขา ด้วย blockchain คุณสามารถใช้คริปโตเคอเรนซี่เช่น บิทคอยน์เพื่อส่งเงินไปหาใครก็ตามได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง นอกจากค่าธรรมเนียมในการโอนเงินกันจะถูกกว่าแล้วยังเร็วกว่าอีกด้วย เงินสามารถถูกส่งและรับภายในวันเดียวกันหรืออาจเร็วกว่านั้น




You've successfully subscribed to Coins Academy | เริ่มต้นการเดินทางในสกุลเงินดิจิทัล
Great! Next, complete checkout to get full access to all premium content.
Error! Could not sign up. invalid link.
Welcome back! You've successfully signed in.
Error! Could not sign in. Please try again.
Success! Your account is fully activated, you now have access to all content.
Error! Stripe checkout failed.
Success! Your billing info is updated.
Error! Billing info update failed.