บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายอำนาจ (decentralized) ที่สามารถถูกส่งได้โดยไม่ต้องใช้ธนาคาร แต่ใช้ตัวกลางผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนแทน มีการอธิบายครั้งแรกในเอกสาร Bitcoin Whitepaper ซึ่งเป็นเอกสารที่เผยแพร่ในปี 2008 โดยบุคคลที่เรารู้จักกันดีนามว่า ซาโตชิ นามาโมโตะ (Satoshi Nakamoto) แม้ว่าตัวตนที่แท้จริงของนามาโมโตะยังไม่เคยถูกเปิดเผยขึ้น เอกสารที่เขา เธอ หรือพวกเขาทิ้งให้เรานั้นระบุหลักการของระบบการชำระเงินแบบ peer-to-peer (ธุรกรรมระหว่างบุคคลกับบุคคลอย่างแท้จริง) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือองค์กรเพียงองค์กรเดียว
บิตคอยน์โปรโตคอล (The Bitcoin Protocol)
บิตคอนย์ไม่ใช่สกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาลหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท แต่เป็นโปรโตคอลที่ทุกคนสามารถสร้างขึ้นได้
โปรโตคอล คือข้อกำหนดวิธีการส่งข้อมูล ตัวอย่างของโปรโตคอล ได้แก่ SMTP สำหรับอีเมล TCP/IP สำหรับอินเทอร์เน็ต และ HTTPS สำหรับเว็บ ดังนั้นหากอีเมลเป็นโปรโตคอลสำหรับการส่งข้อความออนไลน์ คุณสามารถนึกถึงบิตคอยน์เป็นโปรโตคอลสำหรับการส่งค่าออนไลน์
บิตคอยน์ถูกขุดได้อย่างไร
บิตคอยน์เกิดขึ้นใหม่ในอัตราคงที่ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการขุด (Mining) จำนวนบิตคอยน์ที่ขุดได้ จะถูกกำหนดโดยอัลกอริธึม Proof of Work ของเครือข่าย ซึ่งมีรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยแต่ละธุรกรรม ด้วยอัลกอริทึมนี้นักขุดใช้กำลังการประมวลผลของเครื่องขุดเงินดิจิทัลในการแก้สมการการเข้ารหัสที่ซับซ้อน เมื่อสมาการเหล่านี้ได้รับการแก้ไข นักขุดจะได้รับรางวัลเป็นบิตคอยน์เหรียญใหม่เพื่อเป็นแรงจูงใจในการรักษาเครือข่ายให้ปลอดภัย
ทองคำดิจิทัล(The New Digital Gold)
แม้ว่าเดิมทีบิตคอยน์จะได้รับกาแต่งตั้งให้เป็นระบบการชำระเงิน แต่เครือข่ายในปัจจุบันสามารถดำเนินการได้เพียง 5 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น ซึ่งช้ามากเมื่อเทียบกับเครือข่ายการชำระเงินอื่น ๆ ที่สามารถประมวลผลธุรกรรมได้มากกว่า 1,000 รายการต่อวินาที นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบิตคอยน์ใน 1 ธุรกรรม มักจะสูงเกินไปสำหรับยอดการซื้อขนาดเล็ก ดังนั้นการใช้บิตคอยน์เพื่อซื้อสิ่งต่างๆ เช่น กาแฟ 1 ถ้วย ในปัจจุบันจึงไม่สามารถทำได้
ด้วยเหตุนี้ บิตคอยน์จึงมักถูกมองว่าเป็นแหล่งเก็บมูลค่าเสมือนกับทองคำ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? อธิบายคือเช่นเดียวกับทรัพยากรใด ๆ ที่หายาก จำนวนบิตคอยน์ที่สามารถสร้างได้นั้น ถูกจำกัดไว้ที่ 21 ล้านเหรียญตามที่กำหนดโดยรหัสที่ทำงาน เมื่อถึงขีดจำกัดนี้แล้ว จะไม่มีการขุดหรือสร้างบิตคอยน์อีกเลย ซึ่งนี่ทำให้บิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่หายากครั้งแรกที่อยู่ภายใต้อำนาจของอุปสงค์และอุปทาน